ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี (ป้ายวงกลม) มีกี่วิธีและต้องเตรียมอะไรบ้าง?
พิมพ์หน้านี้

ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี (ป้ายวงกลม) มีกี่วิธีและต้องเตรียมอะไรบ้าง?

เพิ่มเพื่อน

ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี (ป้ายวงกลม) มีกี่วิธีและต้องเตรียมอะไรบ้าง?

รถยนต์ทุกคันมีอายุทะเบียนที่อนุญาตให้ขับขี่ได้เพียง 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหนก็ตามทั้ง รถเก๋ง รถตู้ รถแวน รถปิคอัพ ฯลฯ ล้วนจะต้องชำระเป็นค่าภาษีเป็นประจำปีทุกๆ ปี หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ป้ายวงกลม" หรือ “ป้ายภาษี” ทีนี้เราจะมาดูกันว่า เมื่อถึงกำหนด เราต้องเตรียมตัวอะไรกันบ้างในการต่อทะเบียน และเสียภาษีรถยนต์ประจำปี อีกทั้งมีกี่วิธีที่จะสามารถทำได้ โดยใช้หลักฐาน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี), หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่สิ้นอายุ, ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป

 

KMD_9354-(1).jpg

 

เชฟโรเลต_๑๙๐๗๐๕_0012.jpg

กลุ่มรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน)
สำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ติดแก๊ส นับตั้งแต่วันจดทะเบียน (ได้ป้ายขาว) นะครับ อย่าไปจำเป็นวันที่ซื้อล่ะ ถือว่ารถที่อยู่ในกลุ่มนี้สะดวกสบายที่สุดเพราะไม่มีอะไรยุ่งยาก สามารถนำเล่มทะเบียนสีฟ้าหรือว่ารถที่ผ่อนกับไฟแนนซ์ก็ใช้สำเนาเล่มทะเบียน โดยถ่ายด้านรายละเอียดเลขตัวถัง ทะเบียนและชื่อเจ้าของรถ สามารถนำไปต่อภาษีได้เลย และอย่าลืมแนบส่วนหาง พ.ร.บ. ไปด้วยนะครับ


 

timeline_20200116_182446.jpg

 
ส่วนถยนต์ที่มีอายุจดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี แต่มีการติดตั้งพลังงานทางเลือกทั้งระบบแก๊ส LPG หรือ NGV หากมีการดัดแปลงและแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งบันทึกลงในสมุดคู่มือทะเบียนรถไว้แล้วนั้น หากเป็นระบบถัง LPG ควรตรวจสอบระบบบรรจุก๊าซทุก 5 ปี และระบบ NGV/CNG ควรตรวจทุก 1 ปี ตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด ส่วนตัวถังบรรจุแก๊สระบบ LPG ทุก 10 ปี และ NGV ทุก 5 ปี เป็นต้น โดยที่ในส่วนของตัว "รถ" นั้น "ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพเพื่อขอใบรับรองใดๆ" และอย่าลืมหลักฐานการทำ พ.ร.บ. แนบไปด้วย
หรือ อาจจะไปใช้บริการตรวจสภาพเอกชน ที่มีขั้นตอนการตรวจสอบระบบแก๊สในสถานประกอบการเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง มีวิศวกรออกใบรับรองอย่างถูกต้องเท่านั้น โดยจะตรวจสอบระบบการทำงานทั่วไป, ตรวจสอบความพร้อมของชุดจ่ายแก๊ส, ตรวจสอบอายุถังบรรจุแก๊ส, ตรวจสอบระบบบรรจุแก๊ส

กลุ่มรถที่มีอายุเกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน)
ในกลุ่มรถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี แต่ไม่มีการติดตั้งแก๊ส เพียงแค่นำรถไปตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานกับสถานประกอบการเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง หรือนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งโดยตรงได้เช่นกัน และอย่าลืมแนบหลักฐานการทำ พ.ร.บ.ไปด้วย
 ส่วนรถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี  ที่ติดตั้งแก๊ส นอกจากต้องตรวจสภาพกับ ตรอ.แล้ว จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสอบระบบแก๊สด้วย ตามหลักเกณฑ์เดียวกับรถไม่เกิน 7 ปี นั่นคือ อายุการติดตั้งระบบแก๊สนับจากวันที่ระบุไว้ รวมถึงถังบรรจุแก๊สด้วย เมื่อตรวจสอบทุกอย่างครบก็สามารถนำรถเข้าไปต่อทะเบียนได้เลย โดยอย่าลืมพ.ร.บ.แนบไปด้วย
การตรวจสภาพรถเกิน 7 ปี นั้นมีรายละเอียดคร่าวๆ คือ การตรวจสอบระบบไฟฟ้ารถยนต์ทั้งระบบ เช่น ไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ไฟถอยหลัง ไฟหน้าปัด ต้องติดครบ ระบบเบรกต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยจะมีเครื่องทดสอบการห้ามล้อที่พื้น เพียงนำรถขับลงไปและเบรก คอมพิวเตอร์ก็จะแสดงผลแรงเบรกเป็นตัวเลขซึ่งต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมถึงเบรกมือต้องใช้งานได้ด้วย เป็นต้น


 

timeline_20200116_182004.jpg


ขั้นตอนการต่อภาษี
 เมื่อเสร็จจากขั้นตอนการตรวจสภาพรถทั้งรถเก่าและรถใหม่แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการต่อภาษีประจำปีกันบ้าง ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีหรือต่อทะเบียน สามารถทำได้หลายแบบ ได้แก่
1. ยื่นเอกสารที่กรมขนส่งทางบกทั่วประเทศ
2. ชำระได้ที่ทำการไปรษณีย์
3. ชำระที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยจะต้องเป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี, ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันทีที่ร่วมโครงการ
4. ชำระที่ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)" ในวันเสาร์และวันอาทิตย์
- ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 14 สาขา 
เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.
- ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00 - 18.00 น.
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ 
ตั้งแต่เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน


 

timeline_20200116_181932.jpg

5. นำรถเข้าช่องต่อภาษีในระบบ "เลื่อนล้อต่อภาษี" ในบริเวณพื้นที่ในกรมขนส่งทางบก บริเวณหน้าอาคาร 3 ภายในกรมการขนส่งทางบก หรือ สำนักงานขนส่งทุกจังหวัดทั่วประเทศ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30 - 15.30 น.
6.ชำระที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30 - 15.30 น. และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใจ 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน
7. ชำระผ่านอินเทอร์เน็ต eservice โดยจะต้องลงทะเบียนด้วยตัวเอง (สามารถดูขั้นตอนได้ที่
https://eservice.dlt.go.th/esvapp/pdf/UserGuideTax.pdf)
8.ชำระผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ และ เพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น ผ่านบริการ mPAY (เอ็มเปย์) และ แอพ Wallet  by truemoney


 

S__27041870.jpg

mPAY (เอ็มเปย์) โดย AIS
 

S__27049986.jpg

True Money Wallet  โดยTrueMove

หากสนใจอยากจะเป็นเจ้าของรถยนต์สามารถขอสินเชื่อออนไลน์ได้ที่
apply.pngLINE.png 
ดูโปรโมชั่นออนไลน์ของ กรุงศรี นิว คาร์ คลิก ขอสินเชื่อกรุงศรี นิว คาร์ ออนไลน์ เลือกของกำนัลที่ใช่ ใช้ได้จริง มูลค่า 2,000 บาท

อย่าลืม!..คิดจะออกรถใหม่นึกถึงเรา ยื่นเรื่องง่าย อนุมัติไว วางใจ กรุงศรี ออโต้
เพิ่มเพื่อน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
กรุงศรี ออโต้ คอล เซ็นเตอร์
โทร. 0-2740-7400

ย้อนกลับ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

+ ดูทั้งหมด